วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิดีโอการเลี้ยงปลานิล



 1.   ระบบการเลี้ยงปลานิลแบบใหม่






                                                      2. การเลี้ยงปลานิลในบ่อ



 


                                                        3.  ระบบบ่อเลี้ยงปลานิล







วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การตลาดส่งออกต่างประเทศชนิดพวกปลานิล




                       สถานการณ์ปลานิลในไทย ปลานิล(Nile Tilapia) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรหันมานิยมเลี้ยงปลานิลอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันปริมาณการเลี้ยงปลานิลประมาณ 200,000 ตัน มูลค่าประมาณ 7,900 ล้านบาท(คิดที่ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.32 บาท) ซึ่งปัจจุบันปริมาณการเลี้ยงปลานิลคิดเป็นร้อยละ 30.0 ของปริมาณการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดทั้งหมดของไทย ส่วนมูลค่าของปลานิลนั้นคิดเป็นร้อยละ 20.0 ของมูลค่าการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดทั้งหมดของไทย ซึ่งการเพาะเลี้ยงปลานิลของไทยร้อยละ 81.9 เป็นการเลี้ยงในบ่อ ส่วนที่เหลือนั้นเลี้ยงในนาข้าวและร่องสวน

ผลผลิตปลานิลร้อยละ 70.0 ของปริมาณการผลิตปลานิลทั้งหมดบริโภคภายในประเทศโดยแยกเป็นการบริโภคสดร้อยละ 81.0 ในการแปรรูปทำเค็ม และตากแห้งร้อยละ 8.0 นึ่งหรือย่างร้อยละ 7.0 และที่เหลือร้อยละ 4.0 เป็นการบริโภคในรูปอื่นๆ โดยเฉพาะการทำปลาร้า ปลาเจ่า โดยปลานิลที่บริโภคในประเทศนั้นมีวิถีตลาดโดยเกษตรกรขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือขายผ่านผู้รวบรวม ซึ่งจะส่งต่อให้บรรดาผู้ค้าปลาในตลาดสดหรือผู้ที่แปรรูปปลา แล้วจึงจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายปลานิลทั้งตัวและในรูปแช่แข็งเพื่อจำหน่ายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหารโดยตรง

    ราคาและลักษณะของปลานิลจะมีความแตกต่างกันในแต่ละตลาด กล่าวคือ
 ตลาดในต่างจังหวัดมีความต้องการปลาขนาดเล็กเพื่อการบริโภค ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการปลาขนาดใหญ่ ราคาของปลาจึงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของปลา อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาขายส่งเป็นไปในลักษณะทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในการจำหน่ายปลาโดยปกติราคาจำหน่ายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 12-15 บาท/กก. สำหรับราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-25 บาท/กก. ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกเท่ากับ 8-10 บาท/กก.

       ตลาดส่งออกปลานิล…มุ่งขยายตลาดสหรัฐฯและสหภาพยุโรป

     ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลจำหน่ายปลาให้แก่พ่อค้าขายส่งที่องค์การสะพานปลาประมาณร้อยละ 30.0 ของปริมาณการผลิตปลานิลในแต่ละปี โรงงานห้องเย็นรับซื้อปลานิลขนาด 400 กรัมขึ้นไป เพื่อแช่แข็งส่งออกทั้งตัวและรับซื้อปลาขนาด 100-400 กรัมเพื่อแล่เฉพาะเนื้อแช่แข็ง หรือนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไป โดยตลาดส่งออกสำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐฯ อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และเอเชีย ราคาส่งออกนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและความต้องการปลานิลของตลาดโลก โดยเฉลี่ยราคาปลานิลแล่เฉพาะเนื้อมีราคาอยู่ระหว่าง 75-80 บาท/กก. และสำหรับปลานิลแช่แข็งทั้งตัวราคาอยู่ระหว่าง 30-35 บาท/กก. ปัจจุบันไทยส่งออกปลานิลทั้งในรูปปลานิลแช่แข็งและในรูปแล่เนื้อประมาณ 10,000 ตัน มูลค่า 800 ล้านบาท

การป้องกันโรคของปลานิล





      
            แนวทางการป้องกันปัญหาการเกิดโรค
            เพื่อให้การป้องกันโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกษตรกรควรมีหลักในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. เน้นการจัดการในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่อากาศร้อน ฝนตกติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำหลากหรือน้ำนิ่งเป็นเวลานาน  โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนและช่วงปลายฝนต้นหนาว  เกษตรกรสามารถป้องกันการการระบาดของโรคโดยการ เสริมวิตามินที่จำเป็นเช่นวิตามิน ซี (3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม) ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ (3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม) ติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน จนกว่าสภาวะอากาศจะกลับเข้าสู้ภาวะปกติ
  2. ลดหรืออย่าปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นสูงหรือหลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะการเลี้ยงในช่วงระยะเวลาวิกฤติ เนื่องจากปลาจะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรค นอกจากนี้การปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นต่ำจะช่วยให้การจัดการสภาพการเลี้ยงได้ง่ายขึ้น      
  3. ระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ หากเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องให้อากาศเพื่อเติมอากาศในน้ำอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนจนถึงช่วงเช้าตรู่ และช่วงฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน           
  4. เพิ่มแหล่งของเกลือแร่ให้แก่ปลาโดยการเติมเกลือแกง เนื่องจากในช่วงระยะเวลาวิกฤติปลาส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดได้ง่ายและอาจส่งผลให้ปลาสูญเสียระบบควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ การให้เกลือแกงจะเป็นการชดเชยเกลือที่สูญเสียไประหว่างเกิดความเครียด ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายปลาสามารถทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการเติมควรใส่เกลือในถุงผ้าแขวนไว้เป็นจุด ๆ ให้เกลือละลายออกมาช้า ๆ ตามขอบบ่อหรือกระชังให้ติดต่อกันจนสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ   
  5. อย่าใช้ยาหรือสารเคมีอย่างพล่ำเพลื่อ เนื่องจากจะเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยใช่เหตุแล้ว การใช้ยาดังกล่าวยังมีผลทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยาทำให้เมื่อเกิดโรคแล้วอาจส่งผลให้การใช้ยาและสารเคมีดังกล่าวไม่สามารถใช้ในการควบคุมโรคได้     


ลักษณะของปลานิลและจุดเด่น




                                
             

รูปร่างลักษณะของปลานิล  คล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและร่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9 – 10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่งบริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตรอกอยู่โดยทั่วไป
           ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 3 สายพันธุ์ ดังนี้
          1. ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ 7 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุที่เกษตรกรเลี้ยง 22 %
          2. ปลานิลสายพันธุ์จิตลดา 2 เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเป็น "YY"  ที่เรียกว่า  "YY - Male"  หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปรกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2 " ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น "XY" ส่วนหัวเล็กลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่น  รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2 – 3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45 %
           3.  ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 3 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่างๆที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่นๆ อีก 7 สายพันธุ์ ได้แก่  อียิปต์  กานา  เคนยา  สิงคโปร์ เซเนกัล  อิสราเอล และไต้หวันซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่างๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1 – 5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน  ICLARM  ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ 5 เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงปลาพันธุ์ดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ 2 ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 " ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40 %
ปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง 3 สายพันธุ์ ไปสู่ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย

1.จุดแหล่งกําเนิดความเป็นมา

ความเป็นมาของปลานิล            


                   ตามที่พระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิล จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินในเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดาพระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ  ปรากฎว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นจำนวนมากจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ย 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง จัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
            โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็วในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และที่สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรอีก รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งเมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้วจึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป

2.การขยายพันธุ์





         
       การแพร่ขยายพันธุ์
               ลักษณะเพศ  ตามปกติแล้วรูปร่างลักษณะภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมีย  จะคล้ายคลึงกันมาก  แต่จะสังเกตได้โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้ช่องทวาร  ตัวผุ้จะมีอวัยวะเพศลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา    ส่วนตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างใหญ่และกลม  ปลาที่จะดูลักษณะเพศได้ชัดเจนนั้น  ต้องมีขนาดยาวตั้งแต่  10  เซนติเมตรขึ้นไป  ในกรณีที่ปลามีขนาดโตเต็มที่แล้วนั้น  อาจจะสังเกตได้ด้วยการดูสีที่ลำตัว  เพราะปลาตัวผู้จะมีสีเข้มตรงบริเวณใต้คางและตามลำตัว  ต่างกับปลาตัวเมีย  และยิ่งใกล้จะถึงฤดูผสมพันธุ์  สีก็จะยิ่งมีความเข้มยิ่งขึ้น
               พ่อแม่ปลานิลที่มีขนาดยาว  10  เซนติเมตร  และมีอายุประมาณ  4  เดือนขึ้นไป  เป็นปลาโตได้ขนาดพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้  หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมแล้ว  ปลาตัวผู้ก็จะแยกตัวออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรังโดยเลือกเอาบริเวณชานบ่อตื้นๆ  ซึ่งมีระดับน้ำลึกประมาณ  30-50  เซนติเมตร  วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลง  ในระดับตั้งฉากกับพื้นดินแล้วใช้ปากกับการเคลื่อนไหวของลำตัว  เขี่ยดินตะกอนออก  โดยวิธีอมเอาดินตะกอน  และเศษสิ่งของต่างๆ ในบริเวณนั้นไปทิ้งนอกรัง  จะทำอยู่เช่นนี้เรื่อยไป  จนกว่าจนได้รังซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมที่มีขนาดตามความต้องการ  หากมีปลาอื่นอยู่ในแถวนั้นด้วย  ปลานิลตัวผู้ก็จะพยายามขับไล่ให้ออกไปนอกบริเวณ  ตัวมันเองจะคอยวนเวียนอยู่ในรัศมี  2-3  เมตร  รอบๆ รัง  และจะแผ่ครีบหลังอ้าปากกว้างอยู่ตลอดเวลา  อาการเช่นนี้เป็นการเชิญชวนให้ตัวเมียซึ่งว่ายเข้ามาใกล้  ให้เจ้ามายังรังที่ได้สร้างไว้  ปลาตัวเมียบางตัวกว่าจะพบรังที่ถูกใจได้จะฝ่านรังที่ปลาตัวผู้เตรียมไว้ถึง  3  รัง
               เมื่อต่างได้คู่แล้ว  ก็จับคู่เคียงกันไป  และจะให้หางดีดผัดผันแว้งกัดกันเบาๆ  หลังจากเคล้าเคียงในลักษณะเช่นนี้ครู่หนึ่งแล้ว  ปลาก็จะผสมพันธุ์โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ  10  หรือ  20  ฟอง  ในขณะเดียวกัน  ปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป  พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น  ทำอยู่เช่นนี้  จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ  ไขที่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก  โดยวิธีอมไข่เข้าไปในปาก  แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า  ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่นๆ ต่อไปอีก
               แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากปลาเป็นเวลา  4-5  วัน  ไข่ก็จะเริ่มฟักออกเป็นตัว  ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ  จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารจนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป  หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ  3-4  วัน  แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปากลูกปลาในระยะนี้  สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็กๆ  ซึ่งอยู่ในน้ำ  โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา  และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปาก  เมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย  โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือทางช่องเหงือก  หลังจากลูกปลามีอายุได้  1  สัปดาห์  จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่  แต่แม่ปลาก็ยังต้องคอยระวังศัตรูให้โดยการว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่  ลูกปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่ออายุได้  3 สัปดาห์  และมักจะว่ายขึ้นกินอาหารรวมกันเป็นฝูงๆ
               การแพร่ขยายพันธุ์ของปลานิลนั้น  ปริมาณไข่ที่แม่ปลาวางแต่และครั้งจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาและฤดูกาล  โดยประมาณแล้วปลานิลตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละ  50-600  ฟอง  แม่ปลาที่เริ่มวางไข่ครั้งแรกจะให้ลูกปลาจำนวนน้อย  ปริมาณไข่ของแม่ปลาจะเพิ่มมากตามขนาดของแม่ปลาที่เจริญวัยขึ้น  แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถว่างไข่ได้ทุกระยะ  2-3  เดือนต่อครั้ง  ถ้าหากบ่อเลี้ยงปลามีสภาพดีและมีการให้อาหารพอเพียง  ในเวลา  1  ปี