วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การป้องกันโรคของปลานิล





      
            แนวทางการป้องกันปัญหาการเกิดโรค
            เพื่อให้การป้องกันโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกษตรกรควรมีหลักในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. เน้นการจัดการในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่อากาศร้อน ฝนตกติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำหลากหรือน้ำนิ่งเป็นเวลานาน  โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนและช่วงปลายฝนต้นหนาว  เกษตรกรสามารถป้องกันการการระบาดของโรคโดยการ เสริมวิตามินที่จำเป็นเช่นวิตามิน ซี (3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม) ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ (3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม) ติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน จนกว่าสภาวะอากาศจะกลับเข้าสู้ภาวะปกติ
  2. ลดหรืออย่าปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นสูงหรือหลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะการเลี้ยงในช่วงระยะเวลาวิกฤติ เนื่องจากปลาจะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรค นอกจากนี้การปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นต่ำจะช่วยให้การจัดการสภาพการเลี้ยงได้ง่ายขึ้น      
  3. ระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ หากเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องให้อากาศเพื่อเติมอากาศในน้ำอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนจนถึงช่วงเช้าตรู่ และช่วงฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน           
  4. เพิ่มแหล่งของเกลือแร่ให้แก่ปลาโดยการเติมเกลือแกง เนื่องจากในช่วงระยะเวลาวิกฤติปลาส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดได้ง่ายและอาจส่งผลให้ปลาสูญเสียระบบควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ การให้เกลือแกงจะเป็นการชดเชยเกลือที่สูญเสียไประหว่างเกิดความเครียด ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายปลาสามารถทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการเติมควรใส่เกลือในถุงผ้าแขวนไว้เป็นจุด ๆ ให้เกลือละลายออกมาช้า ๆ ตามขอบบ่อหรือกระชังให้ติดต่อกันจนสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ   
  5. อย่าใช้ยาหรือสารเคมีอย่างพล่ำเพลื่อ เนื่องจากจะเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยใช่เหตุแล้ว การใช้ยาดังกล่าวยังมีผลทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยาทำให้เมื่อเกิดโรคแล้วอาจส่งผลให้การใช้ยาและสารเคมีดังกล่าวไม่สามารถใช้ในการควบคุมโรคได้     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น